ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน
              โรงเรียนบ้านป่าขุยได้เปิดทำการสอน เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๗ โดยเจ้าอาวาสวัดเชษฏฐาวรคุปต์ ( ป่าขุย ) เป็นอาคารเรียนจนถึงวันที่  ๑  เมษายน  พ.ศ. ๒๔๗๘  เจ้าอาวาสพร้อมคณะครู  ผู้ปกครอง  นักเรียน  และราษฎรบ้านป่าขุยได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างอาคารถาวรขึ้น  ๑  หลัง  ในพื้นที่ดินธรณีสงฆ์  จำนวน  ๒  ไร่  ๑  งาน  ๑๒  ตารางวา ได้อาคารกว้าง  ๘  เมตร ยาว  ๒๗  เมตร  ตามแบบ ป.๑ท  เป็นอาคารตึกชั้นเดียวขนาด ๓  ห้องเรียน ตั้งชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนบ้านป่าขุย (ปัญญาราษฎร์อุปถัมภ์) ใช้งบประมาณทั้งสิ้น  ๑๑,๑๓๒  บาท  จนถึง  พ.ศ.  ๒๕๑๑  อาคารหลังนี้ได้ชำรุดทรุดโทรมลง  คณะครู  ผู้ปกครอง  นักเรียน  กรรมการสถานศึกษาและราษฎร  ได้ทำการรื้อแล้วสร้างใหม่  เมื่อวันที่  ๑๒  มีนาคม 
          พ.ศ.  ๒๕๑๒  โดยได้รับงบประมาณจากทางราชการ  ๗๐,๐๐๐  บาท  ราษฎรบริจาคสมทบอีก  ๗๑,๐๐๐  บาท  เป็นอาคารตึกชั้นเดียว  แบบ ป.๑ ก  เปิดเรียนตั้งแต่  ป.๑ – ป.๔
          พ.ศ. ๒๕๑๓  ได้รับงบประมาณจากกรมอนามัย  จำนวน ๑๔,๐๐๐  บาท  สร้างแท็งก์น้ำประปา จำนวน  ๑  ที่  ขนาดบรรจุ  ๑,๐๐๐  ลิตร
          พ.ศ.  ๒๕๑๙  ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่   จำนวน  ๔๐,๐๐๐  บาท  ราษฎรบริจาคสมทบ  ๗,๐๐๐  บาท  สร้างบ้านพักครู ขนาด  ๒  ห้อง  จำนวน  ๑  หลัง
พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้รับอนุมัติขยายชั้นเรียนถึงชั้น ป.๖ และได้รับงบประมาณ  จำนวน  ๒๘๔,๐๐๐  บาท  สร้างอาคารเรียน แบบ ป.๑ ก จำนวน  ๑ หลัง  ขนาด ๔ ห้องเรียน ตั้งชื่อว่า  “ อาคารรัฐประสาทราษฎร์บำรุง”
พ.ศ.  ๒๕๒๑  เริ่มเปิดชั้นเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๕  เป็นปีแรก พ.ศ.  ๒๕๒๒  ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่  จำนวน  ๓,๔๐๐  บาท  สร้างส้วมขนาด  ๔  ที่นั่ง  จำนวน  ๑   หลัง
พ.ศ.  ๒๕๒๓  คณะครู  กรรมการสถานศึกษา  ผู้ปกครอง  นักเรียน  ได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์  สร้างรั้วซีเมนต์ล้อมรอบโรงเรียน  ๓  ด้าน  ยาว  ๒๒  เมตร  สิ้นค่าก่อสร้าง  ๑๑๐,๐๐๐  บาท
พ.ศ.  ๒๕๒๕  คณะครู  กรรมการสถานศึกษา  ผู้ปกครอง  นักเรียน ได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์เปลี่ยนเครื่องสูบน้ำและท่อประปา สิ้นงบประมาณ ๖,๖๓๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๒๖  คณะครู  ผู้ปกครองนักเรียน  กรรมการสถานศึกษา  ประชาชนในหมู่บ้าน  ได้บริจาคเงินสร้างโรงอาหาร  ๑  หลัง  สิ้นค่าก่อสร้าง  ๑๕,๓๙๔  บาท
พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับงบประมาณจาก สปช. สร้างสนามวอลเล่ย์บอล จำนวน  ๑  สนาม สิ้นงบประมาณ  ๖๕,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับงบประมาณสร้างเรือนเพาะชำ ๑ หลัง จาก สปช. สิ้นงบประมาณ  ๒๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับงบประมาณจาก สปช.สร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. ๒๐๒/๒๖ จำนวน ๑ หลัง เป็นเงิน ๒๕๐,๐๐๐ บาท และงบประมาณ สปช. ๒๐๒/๒๖  จำนวน ๓,๐๐๐ บาท  สร้างโรงเล่นปิงปอง  ๑  หลัง
พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับงบประมาณจาก  สปช. สร้างถังเก็บน้ำฝน แบบ ฝ.๓๐  พิเศษ ๑  ชุด ๔  ถัง  งบประมาณ  ๖๕,๐๐๐  บาท
พ.ศ. ๒๕๔๒ สำนักงานการประถมศึกษาดอยสะเก็ดโดยนายสวัสดิ์  อินแถลง หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอดอยสะเก็ด  ริเริ่มจัดทำโครงการห้องเรียนใหญ่เฉลิมพระเกียรติ  ๗๒  พรรษา มหามงคล  โดยจัดตั้งโรงเรียนเป็นศูนย์โรงเรียนประถมศึกษา เปิดสอนเฉพาะระดับประถมศึกษา ใช้ชื่อว่าศูนย์โรงเรียนประถมศึกษาสันปูเลย  จัดการเรียนการสอนร่วมกัน  ๓  โรงเรียน คือ
 ๑)  โรงเรียนบ้านสันต้นดู่  เปิดสอน  ชั้น ป.๑,๒
 ๒)  โรงเรียนบ้านป่าขุย     เปิดสอน  ชั้น ป.๓,๔
 ๓)   โรงเรียนบ้านท่ารั้ว     เปิดสอน  ชั้น ป.๕,๖
 ส่วนระดับก่อนประถมศึกษาส่งนักเรียนไปเข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านกอกหม่น  ซึ่งเป็นศูนย์อนุบาลตำบลสันปูเลย  โดยมีอาจารย์ใหญ่ คือ นายบพิธ  ศิริ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๒  และปฏิบัติหน้าที่รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ของโรงเรียนบ้านสันต้นดู่ และโรงเรียนบ้านท่ารั้วอีก  ๒  โรงเรียน
วันที่  ๓  เมษายน ๒๕๔๓  นายณรงค์   เสาร์แก้ว  มารับตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านป่าขุย  และรักษาการตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านสันต้นดู่ และโรงเรียนบ้านท่ารั้ว
วันที่  ๑๖  พฤษภาคม ๒๕๔๖  มีการปรับรูปแบบการจัดศูนย์โรงเรียนใหม่เป็น  ๒  ศูนย์  โดยให้โรงเรียนบ้านป่าขุย  เปิดสอนช่วงชั้นที่ ๑  ( ป.๑ - ป.๓ ) และโรงเรียนบ้านท่ารั้ว  เปิดสอนช่วงชั้นที่  ๒          ( ป.๔ - ป.๖ )  ตามโครงสร้างของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ส่วนโรงเรียนบ้านสันต้นดู่ไม่เปิดสอน แต่ยังคงสภาพเป็นโรงเรียนตามกฎหมายอยู่
วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๘  นายณรงค์  เสาร์แก้ว  ผู้อำนวยการโรงเรียนย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านลวงเหนือ และนายนิวัฒน์ นิลแก้ว ย้ายมาแทน จำนวนบุคลากรครูรวมศูนย์  ๙  คนนักการภารโรง  ๑  คน  การจัดการศึกษายังคงเดิม
วันที่  ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘  นายอินทร  คุณยศยิ่ง  นักการภารโรงโรงเรียนบ้านท่ารั้ว  เกษียณอายุราชการ  นายสมหวัง  สายพาด  ย้ายมาแทน
พ.ศ. ๒๕๔๙  การจัดรูปแบบการศึกษาแบบรวมศูนย์ห้องเรียน และได้รับงบประมาณปรับปรุงถนนภายในโรงเรียนแบบคอนกรีตตัวหนอน  ทั้งที่โรงเรียนบ้านป่าขุยและโรงเรียนบ้านท่ารั้ว 
พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับงบประมาณทั้ง สพฐ. และ อบต.สันปูเลย สนับสนุนคอมพิวเตอร์  โปรเจคเตอร์  เพื่อการบริหารและการจัดการเรียนการสอนและได้ก่อสร้างรั้วโรงเรียนบ้านท่ารั้วโดยเงินบริจาค และจัดการทำบุญฉลอง  เมื่อวันที่  ๓๐  ธันวาคม  ๒๕๕๐
วันที่  ๓๐  กันยายน  ๒๕๕๑  นายอุดม  ทองคำเกิด  เกษียณอายุราชการ  ๖๐  ปี  และ  นายเกษม  พิชวงศ์  เข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด  คงเหลือบุคลากรครู  ๗  คน
พ.ศ.  ๒๕๕๒  ได้รับงบประมาณส้วมสุขสันต์ และเจ้าหน้าที่ธุรการได้แก่ นางสาวอัพวรรณ์  ใจสวนปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ได้รับการบรรจุครูผู้ช่วย ๑ ตำแหน่งได้แก่ นางหทัยชนก  เทพวีระพงศ์    วิชาเอก ภาษาไทย  และได้งบประมาณไทยเข้มแข็งทำการก่อสร้างส้วมแบบสพฐ. ๔ ที่นั่ง จำนวน  ๑  หลัง และสิ้นปีงบประมาณมีครูเข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด  ๒  ราย ได้แก่ นางสุวิภา  พิพิธภักดี  ตำแหน่งครูชำนาญการโรงเรียนบ้านท่ารั้ว   และนางสาวชวนี สกุลคู ตำแหน่งครูชำนาญการ  โรงเรียนบ้านสันต้นดู่
          วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๔ นายรัฐพล  ดู่มณี  มารับตำแหน่งรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่าขุย
วันที่  ๒๐  มกราคม  ๒๕๕๔ นายนิวัฒน์  นิลแก้ว  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่าขุย ย้ายไปรับตำแหน่งรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่าป้อง
วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ นางหทัยชนก  เทพวีระพงศ์  ย้ายตามโครงการครูคืนถิ่นของรัฐบาลไปดำรงตำแหน่งครูโรงเรียนบ้านนาพูน  อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่
วันที่ ๑๗ กันยายน  ๒๕๕๕ นางจรวยพร  ปัญญาดา  ครู/ชำนาญการโรงเรียนบ้านห้วยม่วง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่   ย้ายมาดำรงตำแหน่งครู/ชำนาญการโรงเรียนบ้านป่าขุย  ตามโครงการครูคืนถิ่น
          วันที่ 10 มิถุนายน 2556 นายจรัล  จันทิพย์ ครู คศ.1 โรงเรียนวัดยั้งเมิน ต.ยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ย้ายมาดำรงตำแหน่งครู  โรงเรียนบ้านป่าขุย
          วันที่ 30 กันยายน 2557   นางอุบลศรี  คะเณย์ ครูชำนาญการ เกษียณอายุราชการ
          วันที่   29 กรกฎาคม 2558  นางสาววราภรณ์  จันทสูตร ครู / ชำนาญการ  โรงเรียนบ้านแม่ดอกแดง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ย้ายมาดำรงตำแหน่งครู/ ชำนาญการ    โรงเรียนบ้านป่าขุย
          วันที่ 25 กันยายน  2558 ได้มีประกาศสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 1 ให้มีการเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ยุบรวม) โรงเรียนบ้านท่ารั้ว  โดยมอบทรัพย์สินเอกสารหลักฐานสำคัญทุกประเภท  ให้โอนไปอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของโรงเรียนบ้านป่าขุยเป็นผู้ดูแล
วันที่ 30 กันยายน 2558   นายจรัญ  เสียงเพลิน ครูชำนาญการพิเศษ เกษียณอายุราชการ
          วันที่ 30 กันยายน 2560 นายรัฐพล ดู่มณี ผัอำนวยการโรงเรียนบ้านป่าขุย เกษียณอายุราชการ       
          วันที่ 1 ตุลาคม 2561 นายจรัล  จันทิพย์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ชำนาญการ ได้รับแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่าขุย ตามคำสั่ง ศธจ.เชียงใหม่ ที่ 317/2560 
ลว.13 กันยายน 2560
          วันที่  7 พฤษภาคม 2561 นางพิมพ์ใจ  ยานะ ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่าขุย ตามคำสั่ง ศธจ.เชียงใหม่ ที่ 326/2561  ลว. 19 เมษายน 2561
          วันที่  1 ตุลาคม 2564 นายวิทยา ศรีสุนทร ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่าขุย ตามคำสั่ง ศธจ.เชียงใหม่ ที่ 1129/2564  ลว. 29 กันยายน 2564